Responsive image Responsive image

ทดลองหุงข้าวด้วย ข้อนิ้ว vs ฝ่ามือ vs ถ้วยตวง

25 กรกฎาคม 2565

เคยเป็นเหมือนกันไหม จะหุงข้าวแต่ละทีแล้วไม่มั่นใจ ควรใส่น้ำแค่ไหน และใช้อะไรเป็นตัววัด ถึงจะได้ข้าวนุ่มสวยพร้อมกิน ทำตามข้างถุง หรือจะเชื่อเทคนิคที่ส่งต่อมารุ่นต่อรุ่น อย่างการใช้ข้อนิ้วหรือฝ่ามือเป็นตัววัดระดับน้ำ
 
วิธีไหนได้ผลดี ไม่ต้องเก็บความสงสัยไปพิสูจน์เอง ศาลานา RICE TEST ตอนแรก ขออาสาท้าพิสูจน์เรื่องนี้ให้ จะได้เห็นผลลัพธ์กันแบบช็อตต่อช็อต ชี้ชัดกันไปเลย ว่าข้อนิ้ว ฝ่ามือ หรือถ้วยตวง แบบไหนทำให้ข้าวออกมาใช่ สมใจ
 


แนะนำข้าวและตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง
 
จะหุงข้าวได้ดี ต้องเริ่มจากข้าว! เริ่มด้วยตัวแปรสำคัญ ซึ่งก็คือข้าวที่จะใช้ในการทดลอง เราเลือกเป็นข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ของศาลานา ที่เบลนด์รวมมาให้แล้วในสัดส่วนที่ลงตัว ทั้งข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวมะลินิลสุรินทร์ ข้าว กข 43 และข้าวปทุมธานี 1
 
ในการทดลองนี้ เราเลือกใช้ข้าวสารจำนวน 3 ถ้วยตวง เทียบเท่ากับปริมาณที่หุง
กินกันในครอบครัว จากนั้นนำไปซาว 1 ครั้ง แล้วเตรียมทดลองเทียบวิธีวัดน้ำ 3 แบบ การชิงแชมป์หุงข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ เริ่มต้น ณ บัดนี้!
 

 
อยากรู้นักว่าวิธีเหล่านี้มีอะไรอยู่เบื้องหลัง ทำไมผลลัพธ์ของบางคนก็นุ่มเป๊ะ บางคนก็เละแฉะ เราเลยเทน้ำจากทั้ง 3 หม้อ ออกมาวัด และนั่นไงล่ะ! ปริมาตรน้ำของทั้ง 3 หม้อแตกต่างกัน
 
วิธีที่ 1 วัดระดับน้ำโดยใช้ฝ่ามือวางบนข้าว แล้วใส่น้ำให้ท่วมถึงบริเวณช่วงกลางฝ่ามือ ได้ปริมาตรน้ำ 780 มิลลิลิตร
วิธีที่ 2 วัดระดับน้ำโดยใช้ข้อนิ้ววางบนข้าว แล้วใส่น้ำให้สูงเท่า 1 ข้อนิ้ว ได้ปริมาตรน้ำ 750 มิลลิลิตร
วิธีที่ 3 วัดระดับน้ำโดยใส่น้ำตามปริมาตรที่หลังซองบอกไว้ นั่นคือข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1.5 ส่วน เท่ากับเราจะใส่น้ำ 4.5 ถ้วยตวง ได้ปริมาตรน้ำ 720 มิลลิลิตร
 
ผลสรุปคือปริมาตรน้ำไม่เท่ากัน โดยวิธีฝ่ามือจะใช้น้ำในการหุงข้าวมากที่สุด ส่วนที่ผิดคาดคือข้างถุง ใช้น้ำน้อยที่สุดในการทดลองนี้ เอาล่ะ งั้นเราไปดูกันว่า ใครจะเป็นผู้ชนะที่ทำให้ข้าวออกมาสวยที่สุด
 


และผู้ชนะในแมตช์นี้ก็คือ…ข้างถุง
 
รอหม้อหุงข้าวทำงานไม่นาน ข้าวก็ดีดติ๊ง และผู้ชนะในแมตช์นี้ก็คือ ข้าวที่ใส่น้ำตามข้างถุง ออกมาดูนุ่มสวย น่ากินสุด ๆ แวะมาดูข้าวที่วัดระดับน้ำด้วยวิธีอื่น ๆ กันบ้าง ข้าวที่วัดระดับน้ำโดยใช้ข้อนิ้วได้ข้าวแฉะนิดหน่อย ส่วนข้าวที่วัดระดับน้ำโดยใช้ฝ่ามือได้ข้าวแฉะที่สุด
 
ทั้งนี้ ที่ผลลัพธ์ของทั้งสามหม้อแตกต่างกัน ตัวแปรสำคัญก็คือปริมาตรน้ำนี่แหละ เขาว่ากันว่าข้าวจะออกมาสุกและสวยพอดีหากใส่น้ำในอัตราส่วน 1:1.2 หรือ 1:1.5 เพราะหลังซองเราใส่น้ำโดยใช้อัตราส่วนนี้พอดีเป๊ะ จึงได้ข้าวออกมานุ่มฟูน่ากิน แต่อีกสองวิธีใช้น้ำที่เกินอัตราส่วนไปแล้ว ทำให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างที่เห็น
 
อ้อ! แต่ถ้าเป็นข้าวใหม่ก็อาจจะต้องลดปริมาณน้ำจากวิธีข้างถุงไปอีกหน่อยนะ เนื่องจากเพิ่งเก็บเกี่ยว จึงยังมียางข้าวค่อนข้างมาก อาจทำให้เมล็ดข้าวติดกันเป็นก้อนได้
 


ฝ่ามือและข้อนิ้วของคนเราไม่เท่ากัน
 
เพราะผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีวัดโดยข้อนิ้วและฝ่ามือ ทำให้เราช็อกนิดหน่อย เลยขอออกตามหาคำตอบว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้กันนะ ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ความยาวของข้อนิ้วและความหนาของฝ่ามือของคนเรามีขนาดไม่เท่ากันเลย ปริมาตรน้ำที่วัดก็ย่อมไม่เท่ากันแน่ ๆ ดังนั้นไม่แปลก ถ้าหากนำวิธีนี้ไปลองทำตามที่บ้านแต่ละคนแล้วผลลัพธ์จะออกมาแตกต่างกัน จริงไหม?
 
อาจเป็นไปได้ว่าในการทดลองครั้งนี้ นิ้วของผู้ทำการทดลองค่อนข้างยาว ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงได้ข้าวที่ค่อนข้างแฉะ ดังนั้น ก่อนจะเชื่อชาวเน็ต ต้องลองคิดแบบวิทยาศาสตร์ประกอบกันไปด้วยนะ
 
แล้วถ้าหุงข้าวออกมาแฉะไปต้องทำอย่างไร? วิธีแก้ง่าย ๆ การใช้ขนมปัง 2-3 แผ่น ใส่ลงไปในหม้อหุงข้าว ปิดฝา กดสวิตช์ และพักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แค่นี้ขนมปังก็จะช่วยดูดความชื้นจากข้าวไปให้แล้ว
 


ลองเปลี่ยนข้าวที่นำมาหุง ผลลัพธ์ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไหม
 
ปัญหาคลาสสิกของการหุงข้าวหลายสายพันธ์ุในหม้อเดียว ขึ้นชื่อว่าเป็นการหุงข้าวที่ทำให้ได้ข้าวนุ่มอร่อยยากมาก ๆ เพราะข้าวแต่ละชนิดก็แข็งนุ่มต่างกันไป เราจึงทดลองต่อ ด้วยการลองหุงเปรียบเทียบระหว่างข้าวสารเบลนด์เอง vs ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ศาลานา หุงด้วยน้ำ 720 มิลลิลิตร ตามข้างถุง ที่ทำการทดลองมาก่อนหน้า ว่าจะทำให้ได้ข้าวสวยที่นุ่มพอดี
 
*หมายเหตุ* ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ศาลานา สามารถหุงได้เลย ไม่จำเป็นต้องแช่ให้ข้าวนิ่ม ในการทดลองนี้ เราจึงไม่ได้แช่ข้าวสารที่เบลนด์เองให้นิ่มก่อนเหมือนกัน เพื่อให้ตัวแปรทั้งสองฝั่งคล้ายกันที่สุด
 
มาดูกันต่อ ว่าข้าวที่ได้จะสุกสวยพอดีเหมือนกันไหม
 


และผู้ชนะในแมตช์นี้ก็คือ…ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ของศาลานา
 
ผลการทดลองทำให้เห็นว่าข้าวสารเบลนด์เอง มีโอกาสง่ายมากที่จะสุกไม่ทั่วถึงกัน บ้างก็นิ่มจนเกือบเละ บ้างก็ยังแข็ง นั่นเป็นเพราะลักษณะของข้าวแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกัน บางชนิดอาจต้องแช่ให้นิ่มก่อน หรือต้องกะสัดส่วนในปริมาณที่พอดีที่สุด เพื่อให้ทั้งหมดสุกโดยพร้อมเพรียงกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำเองได้ยากมาก
 
แตกต่างจากข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ของศาลานาที่สุกกำลังดี เพราะเขาคิดมาแล้วว่าใส่ข้าวมาในสัดส่วนเท่าไรถึงจะได้สัมผัส กลิ่น รสที่ดีมากที่สุด
 


อยากหุงข้าวง่าย ๆ แบบผู้ชนะ เลือก “ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์”
 
ผลการทดลองนี้สอนให้รู้ว่า หุงข้าวตามข้างถุงอาจจะเป็นเรื่องดีกว่า เพราะนิ้วและฝ่ามือของเราไม่เท่ากัน และถ้าอยากหุงข้าวหลายสายพันธ์ุง่ายๆ แบบผู้ชนะ ไม่ต้องนั่งเบลนด์เองให้เหนื่อยยาก ผายมือให้ลอง “ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์” ของศาลานา หุงง่าย วัดน้ำตามหลังซอง นุ่มชัวร์!
 
ใครอยากได้ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ของศาลานาไปทดลองที่บ้านบ้าง สั่งซื้อที่นี่
LINE: @Salana https://bit.ly/3cKp4Gj
Website www.salanashop.com
Shopee https://shopee.co.th/salana_organic1
Lazada  www.lazada.co.th/shop/salana-organic-village
JD Central  www.jd.co.th/shop/pc/20435.html



เรื่องที่น่าสนใจ

ในกาลก่อน “นาข้าว” เป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่ทำให้เราสามารถมีกิน มีใช้ ได้อย่างไม่รู้หมด ทว่าในยุคหลังไม่กี่สิบปีมานี้ การทำนาแบบดั้งเดิมเพื่อกิน เพื่อใช้ เริ่มหายไป ชาวบ้านต่างทำนาเพื่อให้ได้ผลผลิตมาก ๆ

ดื่ม ‘ข้าว’ กันไหม? จากวัฒนธรรมดื่มน้ำข้าว สู่นวัตกรรมชงดื่มง่ายเพื่อผู้สูงวัย

‘เก็นไมฉะ’ ได้ชื่อว่าเป็นชาที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์จนถึงกับมีชื่อเรียกกันเล่น ๆ ว่า ‘ชาป๊อปคอร์น’ เพราะกลิ่นหอมที่ว่านั้นได้มาจากกลิ่นของข้าวคั่วที่นำไปผสมกับใบชา

ไม่ใช่แค่ชื่อแบรนด์ข้าวที่รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรอินทรีย์ในราคาที่เป็นธรรม หรือชื่อบนตราสัญลักษณ์ SALANA PGS ที่ยืนยันมาตรฐานอินทรีย์ที่ปลอดภัย ‘ศาลานา’ ยังเป็นโรงเรียนด้วย!

อยากกินเจ ละเว้นเนื้อสัตว์ แต่ไม่อยากท้องอืด ให้ลองทำแบบนี้!