Responsive image Responsive image

เทคนิคแก้ปัญหาสไตล์สูงวัย กินเจอย่างไร ไม่ให้ท้องอืด

26 กันยายน 2565

เทคนิคแก้ปัญหาสไตล์สูงวัย
กินเจอย่างไร ไม่ให้ท้องอืด

 
อยากกินเจ ละเว้นเนื้อสัตว์ แต่ไม่อยากท้องอืด ให้ลองทำแบบนี้!
 
เห็นร้านค้า ร้านอาหารประดับประดาด้วยธงสีเหลืองเมื่อไร ก็เป็นอันรู้กันว่า “เทศกาลกินเจ” แวะเวียนกลับมาอีกครั้ง! ถึงเวลาอันเหมาะสมที่ชาวสูงวัยอย่างเราจะปรับสมดุลให้ร่างกาย ละเว้นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ย่อยยาก แล้วหันมาเพิ่มปริมาณการกินผักและผลไม้ในชีวิตประจำวัน แต่เคยสังเกตเหมือนกันไหม พอเริ่มถือศีลกินเจทีไร อาการท้องอืดก็มักจะกลับมากำเริบ แสดงอาการแทบทุกที
 
Antho-PLUS+ น้ำข้าวอินทรีย์ ชวนไขข้อสงสัยว่าอาการท้องอืด แน่นท้อง เกิดมาจากสาเหตุอะไร พร้อมทั้งมีวิธีป้องกันมาให้ รับรองว่าถ้าทำตามนี้ ยังไงก็สุขภาพดี เจนี้ไม่เลี่ยน ท้องไม่อืดแน่นอน
 


ไม่อยากตดปุ๋งปุ๋ง
ลดผักแก๊สเยอะ เพิ่มสมุนไพรขับลม

 
สงสัยกันไหม ว่าทั้ง ๆ ที่ก็กินผักเยอะแล้ว แต่ทำไมแทนที่จะขับถ่ายดี กลับมีอาการท้องอืด แน่นท้อง
 
ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะในผักยอดนิยมที่คนมักนำมาดัดแปลงเป็นมื้อเจอย่าง ถั่ว บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง หรือกะหล่ำปลี มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ชื่อ โอลิโกแซกคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งร่างกายของคนเรานั้นไม่มีเอนไซม์ช่วยย่อย ต้องรอจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ยื่นมือเข้ามาช่วย พอกากอาหารหมักหมมกันนานวันเข้าจึงทำให้มีแก๊ส เกิดเป็นอาการท้องอืด
 
หากไม่อยากแน่นท้องช่วงกินเจ วิธีช่วยง่าย ๆ คือ ให้นำผักเหล่านั้นมาปรุงสุกก่อนกิน ส่วนธัญพืชประเภทถั่ว ให้แช่น้ำไว้ข้ามคืน และเลือกกินเป็นถั่วแก๊สน้อย อย่างถั่วเขียว ถั่วอะซูกิ (ถั่วแดงญี่ปุ่น) หรือถั่วตาดำ ในปริมาณที่แนะนำต่อวันคือครึ่งถ้วย หรือ 64 กรัม พร้อมเคี้ยวให้ละเอียดมากที่สุด ก็จะช่วยให้ร่างกายย่อยง่ายขึ้น
 
นอกจากนี้การเพิ่มสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม และให้รสเผ็ดร้อนอย่าง ขิง กะเพรา พริกไทย ลงในมื้ออาหารมากขึ้นก็เป็นอีกทางที่ช่วยลดอาการตดปุ๋ง ๆ ได้ด้วยนะ
 


ลาก่อนเมนูเลี่ยน ๆ
เปลี่ยนทอด ผัด เป็น ตุ๋น ต้ม นึ่ง

 
อาหารเจมีมันเยอะ เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่ล้วนต้องนำไปทอดหรือผัดก่อน อีกทั้งยังมาจากความกลัวว่าถ้ามีแต่ผักอาจจะไม่อยู่ท้อง พ่อค้าแม่ขายจึงเติมน้ำมันตอนปรุงเยอะหน่อยเพื่อให้อร่อยและอิ่มได้นาน แต่เมื่อกระเพาะอาหารของสูงวัยได้รับไขมันในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องหลั่งน้ำย่อยออกมามากขึ้น ส่งผลให้คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอ่อนแออยู่แล้ว อาจรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด และแสบท้องเนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารได้
วิธีการแก้ไขก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงเปลี่ยนจากอาหารทอดและผัดที่มีไขมันสูง ย่อยยาก มาเลือกกินอาหารที่ผ่านกระบวนการตุ๋น ต้ม นึ่ง ซึ่งเป็นมิตรกับระบบย่อยอาหารมากกว่า โดยเฉพาะวิธีการนึ่ง ซึ่งถือเป็นวิธีการปรุงอาหารที่ทำให้อาหารยังมีสัมผัสอ่อนนุ่ม ย่อยง่าย และมีสารอาหารต่าง ๆ คงอยู่แทบจะครบถ้วนมากที่สุด



เลิกกินเมนูซ้ำ ๆ
ให้ลำไส้มีพลัง ไม่เบื่อ ไม่แพ้อาหาร

 
การกินเมนูเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กัน นอกจากจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ช่วงเจยังทำให้คนเลือกกินแต่ผัก ธัญพืช หรือวัตถุดิบเจเดิม ๆ แต่กลับขาดโปรตีนได้ง่าย ๆ เป็นต้นเหตุทำให้ร่างกายเกิดปัญหาขาดแคลนสารอาหาร และเสี่ยงต่อการแพ้อาหารกว่าเดิมได้อีกด้วย
นอกเหนือไปจากนั้น คือเมื่อได้รับแต่สารอาหารชนิดเดิม ๆ อย่างไขมัน โซเดียม และน้ำตาล ก็เสี่ยงต่อการทำให้น้ำหนักขึ้นได้อีก แถมยังไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อลำไส้เลยสักนิด เพราะลำไส้ของเรามีจุลินทรีย์ชนิดดีที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารในลำไส้ ดังนั้นควรกินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ และช่วยให้ระบบลำไส้ทำงานดีมากขึ้น
 


ลดปริมาณหรือมื้อลงหน่อย
ดื่ม Antho-PLUS+ อิ่มได้ ไม่แน่นพุง

 
หากลองทำตามวิธีที่ว่าไปแล้วอาการท้องอืดยังไม่หาย แนะนำให้ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ หรือลดจำนวนมื้ออาหารในแต่ละวันลง สำหรับคนที่ไม่อยากทานมื้อเช้าหรือมื้อเย็นหนัก ๆ ลองให้น้ำข้าวอินทรีย์ Antho-PLUS+ เป็นทางเลือกที่ไม่ทำให้แน่นท้องหรือหนักพุง เพราะแอนโทพลัสทำมาจากข้าวอินทรีย์ ธรรมชาติ 100% เนื้อเนียนละเอียด ย่อยง่าย แถมยังเพิ่มประโยชน์ด้วยสารสกัดแอนโทไซยานินจากข้าวมะลินิลสุรินทร์ ไร้สารเคมีทุกขั้นตอนการผลิต ไม่ใส่น้ำตาล ไม่ใส่สารกันบูด และไม่มีส่วนผสมของนมผง ที่สำคัญมั่นใจได้เลยว่าเจแน่นอน
 
สั่งซื้อแอนโทพลัสไปดื่มให้อิ่มท้องช่วงกินเจได้ที่
Line: @salana หรือ https://bit.ly/3cKp4Gj และตัวแทนจำหน่ายแอนโทพลัสทั่วประเทศ



เรื่องที่น่าสนใจ

เรื่องดัก ‘เก๋า’ เกี่ยวกับข้าว ที่ยังหอมฉุยอยู่ในความทรงจำ

ใครเป็นคนกำหนดว่าพออายุมากขึ้นแล้วต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดผ้าไหม ผ้าลูกไม้ หรือต้องแต่งตัวให้สำรวมภูมิฐาน ฉูดฉาดมากไม่ได้เดี๋ยวจะดูแก่

ดื่ม ‘ข้าว’ กันไหม? จากวัฒนธรรมดื่มน้ำข้าว สู่นวัตกรรมชงดื่มง่ายเพื่อผู้สูงวัย

ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 ประชาคมโลก เริ่มให้ความสนใจเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยทางอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างความยั่งยืนทางด้านอาหาร การทำการเกษตร

วิธีกินอย่างพอดี เมื่อเป็นเบาหวาน