Responsive image Responsive image

ข้าวไทย + ใบชา จะทำเป็น ‘เก็นไมฉะ’ ชาข้าวคั่วแบบญี่ปุ่นได้ไหม?!

25 มกราคม 2566

‘เก็นไมฉะ’ ได้ชื่อว่าเป็นชาที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์จนถึงกับมีชื่อเรียกกันเล่น ๆ ว่า ‘ชาป๊อปคอร์น’ เพราะกลิ่นหอมที่ว่านั้นได้มาจากกลิ่นของข้าวคั่วที่นำไปผสมกับใบชา 

หลายคนอาจเคยลองกินเก็นไมฉะแบบบรรจุขวดมาบ้าง แต่รู้ไหมเราเองก็สามารถทำชาชนิดนี้กินเองได้ที่บ้าน เพียงแค่นำข้าวกล้องญี่ปุ่นไปคั่วในอุณหภูมิที่พอเหมาะ แล้วนำไปชงพร้อมใบชาเท่านั้นเอง 

ในเมื่อกลิ่นหอมของข้าวไทยไม่เคยเป็นสองรองใคร เราเลยเกิดความคิดสนุก ๆ อยากจะงัดข้อกับต้นฉบับดูว่าถ้าลองนำข้าวหอมมะลิ ข้าวสายพันธุ์ไทยที่ได้ยอมรับเรื่องกลิ่นหอม มาทำเป็นเก็นไมฉะ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นยังไงกันนะ?!

ชวนมาติดตามพิธีชงชาแบบบ้าน ๆ ฉบับศาลานา ว่าต้องคั่วยังไงถึงจะได้ เก็นไมฉะจากข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ที่รูป รส กลิ่น สี เหมือนต้นฉบับเป๊ะ



อุปกรณ์ใช้เพียงกระทะสำหรับคั่วข้าว ข้าวหอมมะลิ และใบชาเขียวก็เพียงพอ โดยชาเขียวที่นิยมคือ เซ็นฉะ หรือใบชาเขียวที่มีวางขายกันทั่วไปนี่แหละ จะให้รสหวานปนฝาด มีกลิ่นหอมสดชื่น เป็นชาที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มกันมากที่สุด

สำหรับการทดลองครั้งนี้แทนที่จะใช้ข้าวกล้องญี่ปุ่นที่หาซื้อยาก เราปรับสูตรจากต้นฉบับเลือกใช้เป็นข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ ข้าวสายพันธุ์ไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องความหอม แถมยังมีวิตามินบี 1 ป้องกันเหน็บชา ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น และมีแมกนีเซียมช่วยเผาผลาญไขมัน ลดระดับคอเลสเตอรอล เพราะเป็นข้าวที่มั่นใจว่าทุกครัวเรือนมีติดบ้าน สามารถทดลองไปพร้อม ๆ กันได้แน่นอน



ตามหาความหอมที่ลงตัว คั่วข้าว 3 ระดับ เข้ม กลาง อ่อน

เพื่อทดลองว่าข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ ว่าสามารถนำมาทำเป็นเก็นไมฉะให้เหมือนต้นฉบับได้หรือเปล่า เราจึงเริ่มที่ระยะเวลาการคั่วข้าว 

เราแบ่งระยะเวลาคั่วข้าวออกเป็น 3 ระดับคือ คั่วอ่อน คั่วกลาง คั่วเข้ม แบบเดียวกันกับกาแฟ โดยคั่วอ่อน คั่วในระยะเวลา 2 นาที คั่วกลาง คั่วในระยะเวลา 3 นาที และคั่วเข้ม คั่วในระยะเวลา 5 นาที 

ความแตกต่างของทั้ง 3 ระยะเวลาคือสีที่จะค่อย ๆ เหลืองขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับกลิ่นหอมที่เพิ่มมากขึ้นหากสังเกตแบบคั่วเข้ม เมื่อคั่วไปนาน ๆ ข้าวจะเริ่มพองและมีรอยแตกคล้ายป๊อบคอร์น (แอบสปอยล่วงหน้าว่านี่คือสัญญาณที่บอกว่าเรามาถูกทาง กำลังจะได้เก็นไมฉะเหมือนต้นฉบับเป๊ะ!)



ได้ข้าวแล้วลำดับถัดไปก็เข้าสู่กระบวนการชงชาได้เลย 

วิธีการคือให้ผสมข้าวและชาอย่างละ 10 กรัม แล้วชงในกาน้ำร้อน ที่มีความร้อน 80 องศาเซลเซียส แช่ไว้แค่ 3 นาที ก็จะได้เป็นชาข้าวคั่วหอม ๆ

ขอเตือนไว้หน่อยว่าถ้าใครแช่ทิ้งไว้นานแทนที่จะได้ชารสอร่อย อาจจะกลายเป็นชารสขมปี๋ได้นะ 



มาสรุปผลการทดลองกันสักนิด เราพบว่าระยะเวลาที่ใช้คั่วข้าว มีผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชา คือ

แบบคั่วอ่อน จะได้เก็นไมฉะสีจาง และกลิ่นอ่อนที่สุด แทบไม่ได้กลิ่นข้าวเลย
แบบคั่วกลาง จะได้เก็นไมฉะสีเหลืองสวย และเริ่มมีกลิ่นข้าวคั่วหอมจาง ๆ
และแบบคั่วเข้ม จะได้เก็นไมฉะสีและกลิ่นตรงปก เหมือนเก็นไมฉะเป๊ะ ใครชอบแบบอร่อยลงตัว เราทดลองมาให้แล้วว่าต้องแบบนี้นะ

นอกจากความหอม เก็นไมฉะยังเป็นชาที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ปรับสมดุลเรื่องความดันโลหิต และเพราะมีการนำไปผสมกับข้าวคั่วมาแล้ว ปริมาณคาเฟอีนจึงเบาบาง ไม่ต้องกลัวว่าจะตาค้างยามค่ำคืน ใครมีเวลาลองนำไปทำตามกันดูนะ 

ช้อปข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ จากศาลานาได้ที่นี่เลย 

LINE: @Salana https://bit.ly/3cKp4Gj
Facebook: https://www.facebook.com/Salana.thailand
Website: www.salanashop.com
Shopee: https://shope.ee/403p63yFf6
Lazada: www.lazada.co.th/shop/salana-organic-village
JD Central: www.jd.co.th/shop/pc/20435.html



เรื่องที่น่าสนใจ

วิทยาศาสตร์ว่าด้วย ‘ความอร่อย’ ของข้าว ที่คนกินไม่เคยรู้

เบลนด์ข้าวอย่างไรให้อร่อย สุก และสุขทั่วกันทั้งคนปลูกคนกิน

ปัจจุบันประโยคที่ว่า “อายุเป็นเพียงตัวเลข” ไม่ได้เป็นแค่คำพูดเล่น ๆ เพื่อเรียกรอยยิ้มอีกต่อไป

ร้อยพ่อพันธุ์แม่ ย้อนดูต้นกำเนิดกลิ่นหอมโชยของข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์

Rice O’ Clock เมนูข้าว ๆ เช้ายันเย็น ของคนกินข้าวสีเข้ม