Responsive image Responsive image

ความเชื่อ VS ความจริง ของคุณแม่ตั้งท้อง

23 สิงหาคม 2564

คุยให้เข้าใจ ถึงข้อห้ามเรื่องการกินที่โบราณเขาว่า



ถึงยุคสมัยจะเปลี่ยนผ่าน แต่ความเชื่อของคนโบราณเกี่ยวกับคุณแม่ตั้งท้องยังคงบทบาทในสังคมอยู่เสมอ ยิ่งในเรื่องอาหารการกินที่มักจะพ่วงท้ายด้วยข้อห้ามคำเตือนร่ายยาวจากเหล่าผู้สูงวัย เพราะว่ามีอีกคนในท้องที่ต้องห่วงไปพร้อมกับคุณแม่ด้วย

ศาลานา อยากชวนมาหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์กันว่า ความเชื่อเหล่านี้ของคุณแม่ท้อง จริงเท็จแค่ไหน มาไขข้อข้องใจและทำความเข้าใจกันใหม่ให้ถูกเพื่อลูกน้อยในท้อง ต่อจากนี้คุณแม่จะได้ใช้วิจารณญาณในการกินกันมากขึ้น



ความเชื่อที่ 1 
โบราณเขาว่า...แม่ท้องกินเฉาก๊วย แล้วลูกจะตัวดำนะ


ความจริง: เฉาก๊วยมีสีดำก็จริงแต่ไม่ได้ทำให้ลูกในท้องตัวดำตามไปด้วย ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว อาหารที่คุณแม่กินจะไม่มีผลต่อสีผิวลูก สีผิวที่ได้จะมาจากกรรมพันธุ์ของพ่อแม่เท่านั้น คุณแม่ท้องจึงกินเฉาก๊วยได้ไม่มีปัญหา เหตุผลที่คนโบราณเขาเตือนอาจเป็นเพราะว่าส่วนใหญ่ขนมหวานอย่างเฉาก๊วยในน้ำเชื่อมมักจะหวานเกินไป ทำให้น้ำตาลในเลือดของคุณแม่พุ่งสูงได้ จึงควรเลี่ยงจะดีที่สุด แต่ถ้าอยากชื่นใจในวันร้อน ๆ ก็ให้เลือกกินแต่พอดี เพราะเฉาก๊วยยังมีคุณประโยชน์ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดอาการร้อนใน แก้กระหายให้คุณแม่อีกด้วย 



ความเชื่อที่ 2
โบราณเขาว่า...แม่ท้องห้ามกินผักยอดอ่อน เครือ เถา ทำให้ปวดขา


ความจริง: ในทางโภชนาการพบว่า ในผักยอดอ่อนและผักที่เป็นเครือเถาจะมีสารพิวรีน (Purines) สูง เมื่อร่างกายทำการย่อย สารนี้จะกลายเป็นกรดยูริก หากกรดยูริกสะสมในร่างกายสูงขึ้นจนร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้ เจ้าสารตัวนี้จึงตกค้างไปเกาะอยู่ตามข้อต่อโดยเฉพาะบริเวณเท้าและมือ ไปกดให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบจนปวดร้าว และเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่ท้องที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้วอาการกำเริบได้ แต่สำหรับคุณแม่ท้องที่ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับข้อ หรือกินผักยอดอ่อนแล้วไม่เกิดอาการข้างเคียง การกินผักที่หลากหลายก็มีข้อดีคือจะช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้นและได้สารอาหารหลากหลาย



ความเชื่อที่ 3
โบราณเขาว่า...แม่ท้องดื่มน้ำมะพร้าวสิ ตอนคลอดจะได้ไม่มีไขติดตัวลูก


ความจริง: น้ำมะพร้าวมีส่วนประกอบของไขมันทั้งอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว เมื่อคุณแม่ท้องดื่มน้ำมะพร้าว ไขตามตัวลูกจะสีมีขาวสะอาดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่ากังวลเลย เพราะไขสีขาวที่เคลือบตัวของลูกน้อยมีหน้าที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ป้องกันการเสียความร้อนให้ลูกตอนแรกเกิด ป้องกันแบคทีเรียผ่านสู่ผิว และยังเป็นตัวหล่อลื่นช่วยให้คลอดได้ง่ายขึ้น 

ส่วนเหตุผลที่โบราณเขาห้ามกิน เพราะว่าในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนผสม ซึ่งเอสโตรเจนอาจมีผลต่อการหดตัวของมดลูก แต่ในทางการแพทย์พบว่าในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนจริง แต่น้อยมาก หากไม่ได้ทานในปริมาณมากเกินไปก็จะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายคุณแม่แน่นอน



ความเชื่อที่ 4
โบราณเขาว่า...แม่ท้องต้องกินข้าวคูณสอง เผื่อลูกในท้องด้วย


ความจริง: ความคิดที่ว่า ‘ท้องแล้วต้องกินให้เยอะ ๆ ลูกในท้องจะได้โตไว ๆ’ อันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยมาก เพราะในความเป็นจริง ช่วง 6 เดือนแรกคุณแม่ท้องก็ยังต้องการแคลอรี่เทียบเท่าก่อนตั้งครรภ์ มีเพียงช่วง 3 เดือนก่อนคลอดเท่านั้นที่ร่างกายต้องการเพิ่มวันละ 200 แคลอรี่ 

ดังนั้นคุณแม่ที่ท้องยังอ่อนควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าเน้นปริมาณ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์ 

คุณแม่ท้องควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกข้าวในแต่ละมื้อที่ย่อยง่าย มีโฟเลตสูง เพราะโฟเลตจะเข้าไปช่วยเรื่องพัฒนาการของลูกและบำรุงครรภ์ของแม่ ซึ่งทั้งหมดมีอยู่ใน ‘ข้าว 5 สายพันธุ์’ ของศาลานา ข้าวหลากสีที่คิดมาแล้วว่ากินรวมกันจะมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่ากินข้าวขาวแบบปกติ กินเผื่อลูกในปริมาณพอดี มาเน้นสารอาหารที่ดีแทนดีกว่า

ไม่ว่าจะเชื่อแบบไหน ความจริงที่คุณแม่ควรใส่ใจคือจะต้องดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจให้ดีอยู่เสมอ ทั้งการพักผ่อนให้เพียงพอ 8 ชั่วโมง/ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และในช่วงหลังตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน คุณแม่สามารถออกกำลังกายได้ แต่ต้องออกกำลังอย่างถูกวิธี วันละ 30 นาทีก็เพียงพอ เท่านี้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยก็จะมีร่างกายที่แข็งแรงและพัฒนาการที่สมบูรณ์ไปพร้อม ๆ กัน

เลือกอาหารครบประโยชน์ให้ลูกในทุกวัน 
เลือก ‘ข้าว 5 สายพันธุ์’ ในทุกมื้ออาหารของแม่

สั่งข้าวอินทรีย์ของศาลานาได้ที่ 
https://salanashop.com/



เรื่องที่น่าสนใจ

ชวนมาจ้องข้าวให้เข้าใจคุณประโยชน์

วิทยาศาสตร์ว่าด้วย ‘ความอร่อย’ ของข้าว ที่คนกินไม่เคยรู้

ครั้งแรก! ของการเปิดเผยโฉมหน้าของชาวนาตัวจริง ใครอยากเห็นหน้าค่าตาและฟังเสียงพี่ ๆ ชาวนาที่ปลูกข้าวอินทรีย์อร่อย ๆ ให้เรากิน เชิญทางนี้!

ข้าวที่เรากินอยู่ทุกวันคือพืชที่มีชีวิต แม้แต่หลังเก็บเกี่ยวแล้ว เมล็ดข้าวก็ยังเปลี่ยนแปลงตามเวลา นั่นทำให้เส้นทางของข้าวตั้งแต่นาสู่จานมีจังหวะเวลาเฉพาะตัวที่สัมพันธ์กับฤดูกาล

ไม่ใช่แค่ชื่อแบรนด์ข้าวที่รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรอินทรีย์ในราคาที่เป็นธรรม หรือชื่อบนตราสัญลักษณ์ SALANA PGS ที่ยืนยันมาตรฐานอินทรีย์ที่ปลอดภัย ‘ศาลานา’ ยังเป็นโรงเรียนด้วย!