Responsive image Responsive image



วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 
2565:
 
ช่วงเช้า  
08:00 – 08:30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม
08:30 – 09:00 น. ทำความรู้จักกันและสำรวจความคาดหวัง 
09:00 – 10:00 น.
 
บรรยายหลักการพื้นฐานการทำเกษตรแบบวิถีเพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) 
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะปลูก และนิเวศเกษตร
  • หลักจริยธรรมการทำเกษตรแบบวิถีเพอร์มาคัลเจอร์ (Permaculture) 
10:00 – 10:30 น. พักเบรค รับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรม
1) กำหนดเป้าหมายการทำฟาร์มเกษตร
  • เพื่อบริโภคในครัวเรือน
  • เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้
  • เพื่อการจำหน่าย
  • เพื่อการท่องเที่ยว
12:00 – 13:00 น. พักกลางวัน
   
ช่วงบ่าย  
13:00 – 17:00 น.
(15:30 น. รับประทานอาหารว่าง)
2) สำรวจทรัพยากรในฟาร์ม
  • แหล่งน้ำ
  • ชนิดของดิน
  • ลักษณะทางภูมิศาสตร์
  • ลักษณะทางภูมิอากาศ
  • ทิศทางของแสงอาทิตย์
  • ทิศทางของลม
  • สภาพแวดล้อมใกล้เคียง
17:00 น. เดินทางกลับ

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565:
 
ช่วงเช้า  
08:30 – 12:00 น.
(10:30 น. รับประทานอาหารว่าง)
การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมแบบเพอร์มาคัลเจอร์
  • กำหนดกิจกรรมหลักภายในฟาร์ม เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ย ฯลฯ
  • จัดองค์ประกอบของแต่ละกิจกรรมให้สัมพันธ์กัน
    - การจัดองค์ประกอบของฟาร์ม เช่น ที่อยู่อาศัย แปลงนา แปลงผัก ปศุสัตว์ ฯลฯ ให้อยู่ในตำแหน่งที่มีความสัมพันธ์และเอื้อประโยชน์ต่อกัน
  • การวางระบบภายในฟาร์ม
    - ระบบโครงสร้าง (โรงเรือนปลูกพืช โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ วัสดุการทำแปลง)
    - ระบบการกักเก็บและการจัดการน้ำ เช่น แหล่งน้ำ การคำนวณการใช้น้ำในฟาร์ม รูปแบบการกักเก็บน้ำ รูปแบบการจ่ายน้ำในฟาร์ม
    - การใช้เทคโนโลยีภายในฟาร์ม เช่น โซล่าเซลล์ การควบคุมระบบน้ำด้วย Application  โรงเรือนระบบ Evaporative
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวันเพื่อสุขภาพ 
   
ช่วงบ่าย  
13:00 – 15:00 น. การปรับปรุงและบำรุงดินเพื่อการเพาะปลูก 
  • การแก้ไขปัญหาเรื่องดิน การเติมอินทรียวัตถุ 
  • การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ
  • การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยธรรมชาติ (น้ำท่วม ฝนแล้ง) 
  • แนะนำโปรแกรม Sketch up หรือโปรแกรมอื่น ๆ เพื่อการออกแบบผังฟาร์ม
15:30 – 16:00 น. รับประทานอาหารว่าง
 
16:00 – 17:00 น. ทดลองออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมของตัวเอง
17:00 น. สรุปบทเรียน / ถาม-ตอบกับผู้เชี่ยวชาญ / เดินทางกลับ


คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
  1. เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในอาชีพเกษตรวิถีธรรมชาติ
  2. เป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกร
  4. มีสัญชาติไทย
  5. สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเมื่อเข้าสู่การฝึกภาคสนาม
  6. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
ที่พัก อาหารและการเตรียมตัว
 
ที่พัก 
  1. บ้านเคียงนา ทีมงานเตรียมสถานที่กางเต้นท์และเต้นท์ (ขนาดสำหรับ 1 ท่าน) รวมทั้งเครื่องนอนสำหรับผู้เข้าอบรม หรือสามารถนำเต้นท์และเครื่องนอนมาเองได้ 
  2. โรงแรมแนะนำ ท่านใดที่ไม่สะดวกพักที่บ้านเคียงนา สามารถจองที่พักบริเวณใกล้เคียงกับบ้านเคียงนาได้ 
(1) บ้านไร่โฮมสเตย์@ลำพญา เบอร์ติดต่อ: 081 880 2394, 081 856 6939
(2) กุลนที โฮมสเตย์ นครปฐม เบอร์ติดต่อ: 081 659 7371, 081 721 4874
(3) บ้านสวนรีสอร์ท นครปฐม เบอร์ติดต่อ: 094 402 3348, 034 310 316
(4) ที่พักบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากบ้านเคียงนาประมาณ 30 กิโลเมตร 

อาหาร
  • ทีมงานเตรียมอาหารสำหรับผู้เข้าอบรมครบทุกมื้อตลอด 2 วันที่อบรม 
  • ผู้เข้าร่วมอบรมเตรียมขวดน้ำ หรือกระติกน้ำดื่มมาด้วย
หมายเหตุ
  • ควรเตรียมหมวกและเสื้อคลุมกันแดด หากท่านใดมีโรคประจำตัวควรเตรียมยาส่วนตัวมาให้พร้อม 
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
  • ค่าใช้จ่าย 1,500 บาท/ 2 วัน
** ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างน้อย 2 เข็ม และมีผลการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมอบรม **
** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเหมาะสมตามสถานการณ์**

*** สอบถามรายละเอียดการอบรมเพิ่มเติมได้ที่ 098-2499143   Line@salana_learning ***